บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ชื่อนี้มีที่มา

รางวัลซีไรต์ในภาษาไทย

            รางวัลซีไรต์ (S.E.A. Write) รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน

            รางวัล ซีไรต์  (S.E.A. Write ย่อมาจาก Southeast Asian Writers Award)  มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน เป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่นักประพันธ์ใน 10 ประเทศอาเซียน ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยในช่วงต้นๆ ของการมอบรางวัลนั้น มีเพียง 5 ประเทศคือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์
รายชื่อหนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรต์
ปี พ.ศ.
ชื่อหนังสือ
ชื่อผู้แต่ง
คำประพันธ์
พ.ศ. ๒๕๒๒
ลูกอีสาน
คำพูน บุญทวี 
กวีนิพนธ์
พ.ศ. ๒๕๒๓
เพียงความเคลื่อนไหว
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
กวีนิพนธ์
พ.ศ. ๒๕๒๔
ขุนทอง เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง
อัศศิริ ธรรมโชติ
เรื่องสั้น
พ.ศ. ๒๕๒๕
คำพิพากษา
ชาติ กอบจิตติ
นิยาย
พ.ศ. ๒๕๒๖
นาฏกรรมบนลานกว้าง
คมทวน คันธนู (ประสาทพร ภูสศิลป์ธร)
กวีนิพนธ์
พ.ศ. ๒๕๒๗
ซอยเดียวกัน
วาณิช จรุงกิจอนันต์
เรื่องสั้น
พ.ศ. ๒๕๒๘
ปูนปิดทอง
กฤษณา อโศกสิน (สุกัญญา ชลศึกษ์)
นิยาย
พ.ศ. ๒๕๒๙
ปณิธานกวี
อังคาร กัลยาณพงศ์
กวีนิพนธ์
พ.ศ. ๒๕๓๐
ก่อกองทราย
ไพฑูรย์ ธัญญา (ธัญญา สังขพันธานนท์)
เรื่องสั้น
พ.ศ. ๒๕๓๑
ตลิ่งสูง ซุงหนัก
นิคม รายยวา 
นิยาย
พ.ศ. ๒๕๓๒
ใบไม้ที่หายไป: กวีนิพนธ์แห่งชีวิต
จิระนันท์ พิตรปรีชา
กวีนิพนธ์
พ.ศ. ๒๕๓๓
อัญมณีแห่งชีวิต
อัญชัน (อัญชลี วิวัธนชัย)
เรื่องสั้น
พ.ศ. ๒๕๓๔
เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน
มาลา คำจันทร์ (เจริญ มาลาโรจน์)
นิยาย
พ.ศ. ๒๕๓๕
มือนั้นสีขาว
ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ (กิตติศักดิ์ มีสมสืบ)
กวีนิพนธ์
พ.ศ. ๒๕๓๖
ครอบครัวกลางถนน
ศิลา โคมฉาย (วินัย บุญช่วย)
เรื่องสั้น
พ.ศ. ๒๕๓๗
เวลา
ชาติ กอบจิตติ
นิยาย
พ.ศ. ๒๕๓๘
ม้าก้านกล้วย
ไพวรินทร์ ขาวงาม
กวีนิพนธ์
พ.ศ. ๒๕๓๙
แผ่นดินอื่น
กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ 
เรื่องสั้น
พ.ศ. ๒๕๔๐
ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน
วินทร์ เลียววาริณ
นิยาย
พ.ศ. ๒๕๔๑
ในเวลา
แรคำ ประโดยคำ (สุพรรณ ทองคล้อย)
กวีนิพนธ์
พ.ศ. ๒๕๔๒
สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน
วินทร์ เลียววาริณ
เรื่องสั้น
พ.ศ. ๒๕๔๓
อมตะ
วิมล ไทรนิ่มนวล
นิยาย
พ.ศ. ๒๕๔๔
บ้านเก่า
โชคชัย บัณฑิต (โชคชัย บัณฑิตศิละศักดิ์)
กวีนิพนธ์
พ.ศ. ๒๕๔๕
ความน่าจะเป็น
ปราบดา หยุ่น
เรื่องสั้น
พ.ศ. ๒๕๔๖
ช่างสำราญ
เดือนวาด พิมวนา 
นิยาย
พ.ศ. ๒๕๔๗
แม่น้ำรำลึก
เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์
กวีนิพนธ์
พ.ศ. ๒๕๔๘
เจ้าหงิญ
บินหลา สันกาลาคีรี (วุฒิชาติ ชุ่มสนิท)
เรื่องสั้น
พ.ศ. ๒๕๔๙
ความสุขของกะทิ
งามพรรณ เวชชาชีวะ 
นวนิยาย
พ.ศ. ๒๕๕๐
โลกในดวงตาข้าพเจ้า
มนตรี ศรียงค์
บทกวี
พ.ศ. ๒๕๕๑
เราหลงลืมอะไรบางอย่าง
วัชระ สัจจะสารสิน(วัชระ เพชรพรหมศร)
รวมเรื่องสั้น
พ.ศ. ๒๕๕๒
ลับแล แก่งคอย
อุทิศ เหมะมูล
นวนิยาย

วัตถุประสงค์มีดังนี้ คือ
  • เพื่อให้เป็นที่รู้จักถึงความสามารถด้านสร้างสรรค์ของนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียน
  • เพื่อให้ทราบถึงโภคทรัพย์ทางวรรณกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาวรรณศิลป์แห่งกลุ่มประเทศอาเซียน
  • เพื่อรับทราบ รับรอง ส่งเสริมและจรรโลงเกียรติ อัจฉริยะ ทางวรรณกรรมของนักเขียนผู้สร้างสรรค์
  • เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียนและประชาชนทั่วไปในกลุ่มประเทศอาเซียน
กฎเกณฑ์การเลือกสรรงานวรรณกรรม มีดังนี้ คือ
  • เป็นงานเขียนภาษาไทย
  • เป็นงานริเริ่มของผู้เขียนเอง มิใช่งานแปลหรือแปลงจากของผู้อื่น
  • ผู้เขียนยังมีชีวิตอยู่ขณะส่งงานเข้าประกวด
  • เป็นงานตีพิมพ์เผยแพร่ (มี ISBN) เป็นเล่มครั้งแรกย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี ภายในวันสิ้นกำหนดส่งงาน
  • งานวรรณกรรมที่เคยได้รับรางวัลอื่นใดในประเทศไทยมาแล้วจะส่งเข้าพิจารณาอีกก็ได้
คณะกรรมการจัดงาน
               คณะกรรมการดำเนินงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 มีพระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตร เป็นประธาน ภายหลังพระองค์ท่านสิ้นพระชนม์ลง ในปี พ.ศ. 2524 และหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ได้ดำรงตำแหน่งประธานสืบแทนจนถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2526 และผู้ที่สืบตำแหน่งต่อมาคือ พระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าวิมลฉัตร จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2534 ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้ดำรงตำแหน่งประธานจนถึงปี พ.ศ. 2540 ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ม.ล. พีระพงศ์ เกษมศรีดำรงตำแหน่งประธานสืบแทน และในปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการฯ นอกจากนี้คณะกรรมการประกอบด้วย สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และผู้แทนจากบริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทย เบพเวอเรจ จำกัด มูลนิธิเร็กซ์ มอร์แกน บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จำกัด มูลนิธิ จุ มภฎ-พันธุ์ทิพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บริติช แก๊ส ไทยแลนด์ พีทีอี ลิมิเต็ด บริษัท เวิลด์ แทรเวล เซอร์วิส จำกัด และโรงแรมโอเรียนเต็ล

คณะกรรมการพิจารณา (คัดเลือก และ ตัดสิน)
             นักเขียนและคณะบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวรรณกรรมของแต่ละประเทศ  จะ เป็นผู้เลือกสรรตัดสินว่าผู้ใดควรได้รับรางวัล  ดังเช่นในประเทศไทย คณะกรรมการพิจารณาวรรณกรรมฯ มาจากการเสนอชื่อของสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย แบ่งเป็น 2 คณะ คือ
            คณะกรรมการคัดเลือก  (SELECTION COMMITTEE)  มีจำนวน 7 ท่าน ประกอบด้วย ผู้แทนจากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยฯ 3 ท่าน ผู้ แทนจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย 3 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิทางวรรณกรรม 1 ท่าน ให้คณะกรรมการคัดเลือกกันเองเป็นประธานหนึ่งคน  คณะกรรมการคัดเลือกมีหน้าที่รับงานวรรณกรรมที่มีผู้เสนอเข้าพิจารณา และพิจารณาคัดเลือกให้เหลืออย่างน้อย 7 เล่ม แต่ไม่เกิน 10 เล่ม เสนอต่อคณะกรรมการตัดสิน
            คณะกรรมการตัดสิน  (BOARD OF JURIES)  มีจำนวน 7 ท่าน ประกอบด้วย นายกสมาคมภาษาและหนังสือหรือผู้แทน นายกสมาคมนักเขียนฯ หรือผู้แทน นักเขียนหรือกวี ผู้ทรงเกียรติคุณ 1 ท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิทางวรรณกรรม 3 ท่าน ประธาน คณะกรรมการคัดเลือก (โดยตำแหน่ง) กรรมการตัดสินจะเป็นบุคคลเดียวกันกับกรรมการคัดเลือกไม่ได้ ยกเว้น ประธานคณะกรรมการคัดเลือก และไม่เป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงจากงานที่ได้รับการคัดเลือก คณะกรรมการตัดสินมีหน้าที่พิจารณางานวรรณกรรมที่คณะกรรมการคัดเลือกเสนอ และตัดสิน 1 เล่ม ให้ได้รับรางวัลซีไรต์ 
กำหนดเวลาส่งงานวรรณกรรมเข้าพิจารณาให้กำหนดวันสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม (สำหรับงานวรรณกรรมประเภทนวนิยาย)  และวันที่ 30 เมษายน (สำหรับงานวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นและกวีนิพนธ์) ของทุกปี และการตัดสินให้รางวัลจะประกาศผลภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี ผู้ส่งงานวรรณกรรมเข้ารับการพิจารณารับรางวัล ได้แก่ องค์กร และสถาบันที่ทำงานเกี่ยวกับวรรณกรรม สำนักพิมพ์ นักวิชาการวรรณกรรม นักเขียน นักวิจารณ์ และนักอ่านทั่วไป
รางวัลประกอบด้วย
  • แผ่นโลหะจารึกเป็นอนุสรณ์เกียรติประวัติ
  • ทัศนาจร
    • นักเขียนไทยที่ได้ รับรางวัลซีไรต์มีสิทธิเลือกไปเที่ยวประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศอา เซียน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยผู้จัดจะเป็นผู้ออกค่าเดินทาง ค่าที่พัก และอาหาร ทั้งหมด สามารถใช้สิทธิภายในระยะเวลา 1 ปี
    • นักเขียนกลุ่มประเทศอาเซียน 9 ประเทศ มารับรางวัลพร้อมกับทัศนาจรที่ประเทศไทยกับนักเขียนซีไรต์ไทย เป็นเวลา 1 สัปดาห์
  • เงินสด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น